หากคุณกำลังอยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์ ก็อาจจะต้องมีการวางแผนสำหรับการคลอดบุตรไว้ด้วย ซึ่งนอกจากการคลอดบุตรแบบธรรมชาติแล้ว การผ่าตัดคลอดก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำได้ ซึ่งรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการผ่าคลอดนั้นมีให้ในบทความนี้แล้ว
การผ่าตัดคลอด คืออะไร?
การผ่าคลอด คือ การผ่าตัดเพื่อทำการเปิดช่องท้องและผนังมดลูกเพื่อที่จะนำทารกออกมาจากถุงน้ำคร่ำ ต่อจากนั้นแพทย์ก็จะนำรกออกจากครรภ์ของคุณแม่ให้หมด แล้วทำการเย็บปิดมดลูกและหน้าท้อง ซึ่งโดยปกติการผ่าคลอดจะใช้เวลาเพียง 45 ถึง 1 ชั่วโมง เพราะว่าการผ่าคลอดไม่มีความจำเป็นต้องรอให้ปากมดลูกเปิดเหมือนกับการคลอดแบบธรรมชาติ
การผ่าคลอดมีอยู่กี่แบบ
สำหรับการผ่าคลอดนั้นจะมีอยู่ด้วยกันสองแบบดังนี้
- การผ่าคลอดเป็นครั้งแรก ซึ่งก็คือการที่คุณแม่ไม่เคยทำการผ่าคลอดเลย พึ่งจะมาทำเป็นครั้งแรกนั่นเอง
- การผ่าท้องคลอดซ้ำ ผู้ที่เคยทำการผ่าคลอดมาก่อน จำเป็นจะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ทุกครั้ง เพื่อจะได้ดูปัจจัย หรือข้อจำกัดต่างๆว่าสามารถที่จะทำการผ่าท้องคลอดซ้ำได้อีกหรือไม่
คุณแม่หลังผ่าคลอดจะส่งผลต่อการให้นมลูกหรือไม่
สำหรับการผ่าคลอดนั้นจะไม่ส่งผลต่อการให้นมลูกแต่อย่างใด การที่คุณแม่ให้นมลูกจะยิ่งกระตุ้นทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้เป็นอย่างดี ยิ่งให้นมลูกเร็วก็ยิ่งดี ซึ่งลูกน้อยจะได้รับสารอาหารจากน้ำมันแม่เพื่อผลต่อการเจริญเติบโต และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อไป
ข้อดีของการผ่าคลอด
- กำหนดวันคลอดบุตรได้ ซึ่งสามารถทำการกำหนดเวลาได้ชัดเจนกว่าการคลอดบุตรแบบธรรมชาติ
- ไม่ต้องรอนาน การผ่าคลอดไม่จำเป็นต้องรอให้ปากมดลูกเปิด เหมือนกับการคลอดบุตรแบบธรรมชาติ ซึ่งการผ่าคลอดอาจใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น
- ลดการเจ็บปวด ในระหว่างผ่าคลอดแพทย์จะทำการบล็อกหลังหรือโปะยาสลบ ทำให้ไม่เจ็บขณะผ่าคลอด และไม่ต้องออกแรงเบ่งในการคลอดบุตร
- ลดการเป็นอุ้งเชิงกรานหย่อน การคลอดแบบธรรมชาตินั้นจะต้องออกแรงเบ่ง ซึ่งจะส่งผลให้เป็นอุ้งเชิงกรานหย่อนได้
ข้อเสียของการผ่าคลอด
- มีโอกาสตกเลือดหลังคลอดบุตรได้
- เสี่ยงต่อการรกติดแน่นในการตั้งครรภ์ในครั้งต่อไป
- อาจเกิดพังผืดในช่องท้องหลังการผ่าตัดได้
- หลังคลอดจะมีอาการเจ็บแผลที่นานกว่าคลอดแบบธรรมชาติ
- อาจมีแผลเป็นคีลอยด์ที่หน้าท้องหลังจากการผ่าคลอดได้
ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดคลอดหรือการคลอดเองแบบธรรมชาติ คุณแม่ทั้งหลายก็ควรที่จะปรึกษาสูติแพทย์ให้แน่ใจก่อนว่าเหมาะกับการทำคลอดแบบไหน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวแม่และลูกน้อยในครรภ์ด้วยนั่นเอง