การทำข้าวคั่ว ถือเป็นส่วนผสมสำคัญของอาหารหลาย ๆ โดยเฉพาะอาหารอีสาน เช่น ต้มแซ่บ น้ำจิ้มแจ่ว ลาบ น้ำตก ก้อย เพื่อเพิ่มรสชาติ และให้มีกลิ่นหอม รวมไปถึงการทำปลาร้าสูตรโบราณก็ต้องใช้ข้าวคั่วด้วยเช่นกัน ซึ่งหากใครไม่อยากซื้อก็สามารถการทำข้าวคั่วด้วยตัวเองง่าย ๆ โดยมีวิธีดังต่อไปนี้
การทำข้าวคั่ว ควรใช้ข้าวอะไร
ข้าวคั่ว สามารถใช้ได้ทั้งข้าวเหนียว และข้าวหอมมะลิแต่แนะนำว่าการใช้เมล็ดข้าวเหนียวจะดีที่สุด เพราะจะให้กลิ่นที่หอม หากใช้ประกอบอาหารจะเหนียวหนึบมากกว่า แต่หากไม่มีเมล็ดข้าวเหนียวก็สามารถใช้ข้าวหอมมะลิได้เช่นกัน โดยสูตรข้าวคั่วหลัก ๆ จะมีอยู่ 2 สูตรดังนี้
การทำข้าวคั่ว สูตรดั้งเดิม
- ใช้ข้าวสาร 1 ถ้วย นำไปซาวน้ำ 1-2 รอบ แล้วนำไปตากให้แห้ง
- ตั้งกระทะโดยใช้ไฟอ่อน แล้วใส่ข้าวสารลงไป คนให้ทั่วดูจนกว่าข้าวจะมีสีเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) เสร็จแล้วพักทิ้งไว้ให้เย็น
- นำข้าวคั่วใส่ลงในครกตำให้ละเอียด หรือจะใช้เครื่องปั่นก็ได้
การทำข้าวคั่ว สมุนไพร
- เตรียมข้าวสาร 1 ถ้วย, ข่า 4 – 5 แว่น, ตะไคร้ซอย 1 ต้น, ใบมะกรูดฉีก 2 – 3 ใบ
- นำข้าวสารไปซาวน้ำ 1-2 รอบ แล้วนำไปตากให้แห้ง
- ตั้งกระทะเปิดไฟอ่อน นำส่วนผสมทั้งหมดลงกระทะ แล้วคั่วเมล็ดข้าวจนออกสีเหลืองทอง ตักทั้งหมดออกพักไว้ให้เย็น
- นำทั้งหมดไปตำหรือปั่นรวมกันให้ละเอียดก็จะได้ข้าวค่ำสมุนไพรกลิ่นหอมพร้อมนำไปปรุงอาหาร
- การทำข้าวคั่ว ให้มีกลิ่นหอม ไม่เหม็นหืน
หลายคนทำข้าวคั่วเองแล้วมักจะเจอว่าข้าวคั่วที่ทำทิ้งไว้ไม่หอมเหมือนตอนแรก แถมมีกลิ่นเหม็นหืนซึ่งสาเหตุไม่ได้มาจากวิธีทำแต่มาจากวิธีเก็บรักษา เคล็ดลับการเก็บข้าวคั่วก็คือ ให้เก็บในภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่แห้ง สะอาด เช่น ขวดพลาสติก หรือขวดแก้ว ฝาต้องปิดให้สนิทมิดชิด เพื่อไม่ให้ความชื้นหรืออากาศเข้าไปได้ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าวคั่วไม่หอม มีกลิ่นเหม็นหืนนั่นเอง ทั้งนี้การทำในแต่ละครั้งก็ควรไม่ทำมากจนเกินไปเพราะหากเก็บไว้นาน ๆ ความหอมก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ หากใครไม่ให้ใช้ปรุงอาหารบ่อย ๆ แนะนำว่าทำให้พอดีเพราะข้าวคั่วที่ทำใหม่จะให้รสชาติที่หอม มีรสสัมผัสที่ดีกว่า
เป็นยังไงกันบ้าวสำหรับ การทำข้าวคั่ว ที่เรานำมาฝากเรียกว่าทำได้ง่ายเป็นอย่างมาก หากใครกำลังจะทำอาหารที่มีส่วนผสมของข้าวคั่วก็สามารถนำทั้งสองสูตรนี้ไปใช้กันได้เลยรับรองว่าจะช่วยเพิ่มรสชาติให้อร่อยขึ้นอย่างแน่นอน